ใบความรู้

การเขียนสะกดคำ


          ระบบการเขียนภาษาไทยเป็นระบบที่มีตัวอักษรแทนเสียง ๓ ประเภท คือเสียงสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ ประกอบกันเป็นพยางค์และคำ ในการเขียนคำให้ถูกต้องจำเป็นต้องศึกษาเรื่องการใช้ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ตลอดจนการเขียนคำในลักษณะพิเศษต่างๆ เช่นการเขียนชื่อเฉพาะ การเขียนราชทินนาม การเขียนคำยืมจากภาษาต่างประเทศ การเขียนอักษรย่อ การเขียนชื่อเมือง ชื่อประเทศและการใช้เครื่องหมายประกอบคำ เครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เขียนคำได้ถูกต้องคือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานซึ่งทางราชการประกาศให้ถือเป็นแบบอย่างในการเขียน

การใช้สระ
          การใช้สระในการเขียนคำที่ปรากฏในคำไทยนั้นมีข้อสังเกตดังนี้
          ๑. การประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
                   คำที่ออกเสียง “อะ” ในภาษาไทยมีทั้งที่ปรากฏรูปสระ เรียกว่าประวิสรรชนีย์และไม่ปรากฏรูปสระที่เรียกว่าไม่ประวิสรรชนีย์
                   คำที่ประวิสรรชนีย์ ได้แก่
๑)    คำพยางค์เดียวที่ออกเสียงสระอะให้ประวิสรรชนีย์ เช่น กะ จะ นะ คะ ละ
๒)   พยางค์ท้ายของคำเมื่อออกเสียงสระอะให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ศิลปะ ธุระ โลหะ อิสระ อมตะ สรณะ หิมะ ลักษณะ อาสนะ แป๊ะซะ ซาบะ ซากุระ ฯลฯ
๓) คำเดิมที่เป็นคำสองพยางค์ ต่อมาเกิดการกร่อนเสียงหน้าเป็นเสียงอะ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
                             หมากพร้าว       -         มะพร้าว          หมากม่วง         -         มะเขือ
                             หมากเขือ         -         มะเขือ            หมากซาง         -         มะซาง
                             หมากงั่ว          -         มะงั่ว             หมากขาม        -         มะขาม
                             ต้นแบก           -         ตะแบก           ต้นเคียน          -         ตะเคียน
                             ตาวัน             -         ตะวัน              ตาปู              -          ตะปู
                             สายดือ           -         สะดือ             สายดึง            -         สะดึง
                             เฌอเอม           -         ชะเอม            คำนึง             -        คะนึง
                             ฉันนั้น            -         ฉะนั้น            ฉันนี้              -           ฉะนี้
 ๔)      คำอัพภาสที่กร่อนมาจากคำซ้ำและมักใช้ในคำประพันธ์ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
     ริกริก             -         ระริก             แย้มแย้ม          -         ยะแย้ม
     ครื้นครื้น          -         คะครื้น          ฉาดฉาด          -         ฉะฉาด
     วับวับ             -         วะวับ             วาบวาบ          -         วะวาบ
 ๕)      คำที่พยางค์หน้าออกเสียง กระ ประ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
                             กระษัย           กระษาปณ์       กระเสียร         กระหนก
                             ประกาศ          ประณีต           ประจักษ์         ประคอง
                             ประสิทธิ์          ประสาท          ประมาท          ประเดิม
 ๖)      คำที่พยางค์หน้าออกเสียง ระ ที่มาจากภาษาเขมร ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ระเบียน ระบำ ระเบียบ ระเมียร ระลอก ระมาด
๗)      คำที่มาจากภาษาจีน ญี่ปุ่น ชวาและอื่นๆ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
     บะหมี่            ตะหลิว           บะจ่าง            ประไหมสุหรี
     มะเดหวี          ประหนัน         ระตู               มะงุมมะงาหรา
     กะละมัง          มะกะโท          ตะเกิง            กะละแม
     อะแซหวุ่นกี้      มะตะบะ         ฯลฯ
                                               
                   คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ ได้แก่
๑)      คำที่เป็นพยัญชนะโดด ออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมกับสระอะ เช่น
                             ณ ที่มีความหมายว่า ใน ที่ ออกเสียงว่า “นะ” เช่น
                             ณ กาลครั้งหนึ่ง ณ โอกาสนี้ ณ ที่แห่งนี้ ณ สวนลุมพินี ฯลฯ
                             ธ  ที่มีความหมายว่า ท่าน เธอ ออกเสียงว่า “ทะ” เช่น ธ ประสงค์ใด
                             ฯพณฯ            ที่เป็นคำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ออกเสียงว่า
                                                พะ-นะ-ท่าน เช่น ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

๒)      คำสองพยางค์ ที่พยางค์หน้าออกเสียงกร่อนเหลือเพียงเสียงพยัญชนะต้นประสมกับสระอะบางคำ เช่น
                             อันหนึ่ง           -         อนึ่ง               ผู้ญาณ            -         พยาน
                             ท่านนาย         -         ทนาย
๓)      คำที่จากภาษาเขมรบางคำ เช่น กบาล ขจี ฉบับ ถนน ผกา ผสม ลออ สงัด สดับ สนม
๔)      คำที่แผลงมาจากคำพยางค์เดียว มีพยางค์หน้าออกเสียงเป็นพยัญชนะต้นประสมกับสระอะ เช่น
     เดิม      แผลงเป็น         เผดิม              บวช     แผลงเป็น         ผนวช
     เกย      แผลงเป็น         เขนย             ขด      แผลงเป็น         ขนด
     ขาน     แผลงเป็น         ขนาน
๕)      คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ออกเสียงพยัญชนะต้นประสมกับสระอะ เช่น กนก กษัตริย์ นภา นวมินทร์ มติ รวิ รติ ลดา สดุดี อวตาร อนงค์
๖)      คำภาษาบาลีสันสกฤตซึ่งเป็นคำสมาสที่ออกเสียงสระอะเชื่อมระหว่างคำเช่น คณิตศาสตร์ จตุรมิตร ทิพรส รัตนตรัย สาธารณสุข อิสรภาพ
๗)      คำที่มาจากภาษาอื่น พยางค์ที่ออกเสียงอะระหว่างพยางค์เช่น ชวา พม่า พลาสติก มลายู สกี สวีเดน สวิส อเมริกา ไอศกรีม

          ๒. การใช้ ใ-  ไ-  -ัย และ  ไ-ย
๑)      ใ- (ไม้ม้วน) ใช้ในคำไทย ๒๐ คำ ซึ่งโบราณท่านผูกเป็นบทประพันธ์ให้ท่องจำไว้ใช้ดังนี้

                                      ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่                   ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
                             ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ                               มิหลงใหลใครขอดู
                             จะใคร่ลงเรือใบ                              ดูน้ำใสและปลาปู
                             สิ่งใดอยู่ในตู้                                  มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
                             บ้าใบ้ถือใยบัว                                หูตามัวมาใกล้เคียง
                             เล่าท่องอย่าละเลี่ยง                         ยี่สิบม้วนจำจงดี
                                                                                                            
๒)      ไ- (ไม้มลาย) ใช้กับคำไทยที่นอกเหนือจากคำที่ใช้ไม้ม้วน ๒๐ คำนั้น เช่น ไฟ ไป่ ไว ไต่ ไช และคำที่พ้องเสียงกับคำที่เขียน ใ- (ไม้ม้วน) เช่น ไจไหม ขี้ไต้ ปลาไน ไนปั่นด้าย ร้องไห้ น้ำไหล เหล็กไหล ลำไย
๓)      คำที่รับมาจากภาษาต่างประเทศใช้ ไ- (ไม้มลาย) เช่น ไตร ไพจิตร ไพสิฐ ไมตรี ไศล ไอศวรรย์ เจียระไน ได ไถง ไผท สไบ รำไพ กังไส กงไฉ่ อะไหล่ ไนต์คลับ ไนลอน ไมล์ ฯลฯ
๔)      –ัย ใช้ในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ซึ่งเป็นคำเรียงพยางค์มีตัว ย เป็นพยางค์หลัง ไทยใช้ตัว ย เป็นตัวสะกด เช่น
                                      กษย     -         กษัย              ขย      -         ขัย
                                      ชย      -         ชัย                นย      -         นัย
                                      วย       -         วัย                ภย      -         ภัย
                                      มาลย   -         มาลัย

๕)      ไ-ย ใช้เฉพาะคำที่มาจากบาลีสันสกฤต ซึ่งเดิมใช้เอยยฺ เมื่อออกเสียง ไอ ใช้ ไ-ย เช่น
                             เทยยฺทาน        -         ไทยทาน                   เวเนยยฺ           -         เวไนย
                             อธิปเตยยฺ         -         อธิปไตย                  อสงเขยยฺ         -         อสงไขย
                             อุปเมยยฺ          -         อุมไมย
๓. การใช้ –ำ  -ัม  –ำม และ  –รรม
                   พยางค์ที่ออกเสียงสระอำมีหลักสังเกตในการเขียนดังนี้
๑)      –ำ ใช้กับคำไทยทั่วไปเช่น กำ ดำ ทำ จำ ขำ และคำที่มาจากภาษาจีนเช่น กำปั่น ไหหลำ หนำเลี้ยบ
๒)      –ำ ใช้ในคำแผลงเช่น
                             เกิด      แผลงเป็น         กำเนิด            แข็ง     แผลงเป็น         กำแหง
                             จ่าย     แผลงเป็น         จำหน่าย                   แจก     แผลงเป็น         จำแนก
                             เจียร    แผลงเป็น         จำเนียร           ตรัส     แผลงเป็น         ดำรัส
                             ตรวจ    แผลงเป็น         ตำรวจ            ตรู       แผลงเป็น         ดำรู
                             ทรุด     แผลงเป็น         ชำรุด             ปราศ   แผลงเป็น         บำราศ
                             เสร็จ    แผลงเป็น         สำเร็จ            อาจ     แผลงเป็น         อำนาจ

๓)      –ัม ใช้ในคำที่มาจากภาษาอื่น เช่น อัมพร คัมภีร์ สัมผัส อุปถัมภ์ ปั๊ม คอลัมน์
๔)      –ำม ใช้ในคำที่มาจากบาลีสันสกฤต ที่เป็น อม- (อะมะ-) เช่น
                             อมร               -         อำมร             อมรินทร์          -         อำมรินทร์
                             อมาตย์           -         อำมาตย์          อมหิต             -         อำมหิต
๕)      –รรม ใช้ในคำที่มาจาก –รฺม ในภาษาสันสกฤต เช่น
     ธรฺม               -         ธรรม             กรฺม               -         กรรม   
          ๔. การใช้ เ-อ
                   การใช้ เ-อ (สระเออ) มีหลักสังเกตในการเขียนดังนี้
๑)      ใช้ตรงรูปแบบเดิมเมื่อไม่มีตัวสะกดเช่น เธอ เจอ เผลอ เรอ ส่วนคำที่มีตัวสะกดมี ๒ คำ คือ เทอม และ เทอญ
๒)      เมื่อ เ-อ (สระเออ) มีตัวสะกดที่ไม่ใช่ ย ใช้รูป เ- ิ เช่น เกิน เขิน เชิญ เชิด เปิด เริง เมิน เดิน ฯลฯ
๓)      เมื่อ เ-อ (สระเออ) มีตัวสะกด ย ใช้รูป เ-ย เช่น เกย เขย เคย เงย เชย เตย เนย เลย เสย เอย ฯลฯ

          ๕. การใช้ไม้ไต่คู้
๑)      ใช้ในคำว่า “ก็”
๒)      ใช้ในคำที่ประสมด้วยสระ เ-ะ แ-ะ เ-าะ เมื่อมีตัวสะกด เช่น เข็ม เป็น เอ็น แกร็น แข็ง ช็อก บล็อก ล็อก
 
การใช้พยัญชนะ
          ๑. การใช้ ศ ษ ส มีหลักการสังเกตดังนี้
๑)      คำไทยใช้ตัว ส เป็นพยัญชนะต้นเช่น สาว สวย สวม เสื้อ สี สด
๒)      คำไทยที่ใช้ ศ เป็นพยัญชนะต้นมีบ้างเช่น ศอก ศึก เศิก
๓)      คำที่มาจากภาษาบาลีใช้ ส ตัวเดียวเท่านั้นเพราะภาษาบาลีไม่มี ศ ษ เช่น สัจจะ สโมสร โอกาส สิริ รังสี สมัชชา
๔)      คำที่มาจากภาษาสันสกฤตใช้ทั้ง ศ ษ และ ส มีหลักในการสังเกตดังนี้
ก.       ใช้ตัว ศ นำหน้าพยัญชนะวรรค จะ คือตัว จ ฉ ช ฌ เช่น พฤศจิกายน อัศจรรย์ อัศเจรีย์ เป็นต้น
ข.       ใช้ตัว ษ นำหน้าพยัญชนะวรรค ฏะ คือตัว ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เช่น ราษฎร์ เชษฐา โอษฐ์ โกษฐ์ อุษณา ลักษณะ
ค.       ใช้ตัว ส นำหน้าพยัญชนะวรรค ตะ คือตัว ต ถ ท ธ น เช่น พัสดุ ภัสดา หัสดิน อัสดง อาสนะ เป็นต้น
๕)      คำที่มาจากภาษาอื่นส่วนมากใช้ ส เช่น โจรสลัด สกรู แสตมป์ สตริง สปริง ผักสลัด แก๊ส บาสเก็ตบอล เป็นต้น แต่บางคำสังเกตว่าก็ใช้ ศ เช่น ไอศกรีม

          ๒. การใช้ ณ น มีหลักการสังเกตดังนี้
๑)      คำที่มาจากภาษาสันสกฤต
     ใช้ตัว ณ ตามหลังพยัญชนะ ร ฤ และ ษ เช่น กรณฑ์ กรณี ตฤณ โฆษณา ทักษิณ ลักษณะ (ยกเว้น ปักษิน กริน ใช้ตัว น เพราะลงปัจจัย อิน) แม้มีสระหรือพยัญชนะวรรค กะ หรือวรรค ปะ มาคั่น ก็คงใช้ตัว ณ เช่น อารมณ์ โบราณ พราหมณ์ เป็นต้น
๒)      คำที่มาจากภาษาบาลี
     ใช้ตัว ณ นำหน้าพยัญชนะวรรค ฏะ คือตัว ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เช่น มณฑา มณฑล บัณฑิต ขัณฑสกร สัณฐาน กุณฑี เป็นต้น
     ใช้ตัว น นำหน้าพยัญชนะวรรค ตะ คือตัว ต ถ ท ธ น เช่น นินทา มนเทียร วันทนา ขันที สันถาร เป็นต้น

          ๓. การใช้ ซ ทร มีหลักการสังเกตดังนี้
๑)      คำไทยแท้ที่ออกเสียง /s/ ใช้ตัว ซ เช่น ซน ซอง ซับ ซีด เป็นต้น
๒)      คำที่มาจากภาษาต่างประเทศใช้ ซ เช่น เซรุ่ม เซลล์ ไซโคลน เซียมซี ซาลาเปา เก๊กซิม ซิ้ม ซ้อ เป็นต้น
๓)      คำที่มาจากภาษาเขมรใช้ ทร เช่น  ทราย ทราบ ไทร ทรวง ทรง ทรุดโทรม ฉะเชิงเทรา เป็นต้น
๔)      คำที่มาจากภาษาสันสกฤตบางคำเช่น มัทรี ทรัพย์ อินทรีย์ นนทรี เป็นต้น
                       
          ๔. การใช้ รร มีหลักการสังเกตดังนี้
๑)      ใช้ในคำที่แผลงมาจากคำซึ่งมีตัว ร กล้ำกับพยัญชนะอื่น และหลังตัว ร เป็นสระอะ เช่น
     กระเช้า           เป็น     กรรเช้า           กระเชียง         เป็น     กระเชียง
     กระชิง            เป็น     กรรชิง            กระโชก          เป็น     กรรโชก
     ประจง            เป็น     บรรจง            ประสบ           เป็น     บรรสบ
๒)      คำแผลงที่เพิ่มจากคำพยางค์เดียว เป็นคำสองพยางค์เช่น
     โคลง              เป็น     ครรโลง           ไคล               เป็น     ครรไล
     คลอง             เป็น     ครรลอง          เป็นต้น
๓)      ใช้ รร เมื่อคำคำนั้นเป็นคำที่มาจาก รฺ (ร เรผะ) ในภาษาสันสกฤต เช่น
     ธรฺม               เป็น     ธรรม             ครฺภ              เป็น     ครรภ
     จรฺยา             เป็น     จรรยา            วรฺค               เป็น     วรรค
     สรฺว               เป็น     สรรพ             อรฺณว             เป็น     อรรณพ
     เป็นต้น
๔)      ถ้าหน้า รฺ (ร เรผะ) เป็นพยัญชนะที่มีสระอื่นกำกับ ไม่ต้องเปลี่ยนเป็น รร เช่น นิรฺมิต มารฺค ศีรฺษ เป็นต้น

          ๕. การใช้ บรร บัน มีหลักการสังเกตดังนี้
๑)      บรร ใช้ในคำที่แผลงมาจาก ประ หรือ บริ เช่น
๒)      บรร ใช้ในคำไทยที่รับมาจากเขมรบางคำ เช่น บรรจง บรรจุ บรรจบ บรรทัด บรรทม บรรเทา บรรทุก บรรลุ บรรเลง
๓)      บัน ใช้ในคำไทยที่รับมาจากเขมรเป็นส่วนใหญ่เช่น บันได บันทึก บันดาลบันเทิง ซึ่ง    กำชัย ทองหล่อ (๒๕๔๐) ได้นำมามาประพันธ์เป็นกาพย์ให้ง่ายต่อการจดจำดังนี้
              บันดาลลงบันได                             บันทึกให้ดูจงดี
     รื่นเริงบันเทิงมี                               เสียงบันลือสนั่นดัง
     บันโดยบันโหยให้                           บันเหินไปจากรวงรัง
     บันทึงถึงความหลัง                           บันเดินนั่งนอนบันดล
     บันกวดเอาลวดรัด                           บันจวบจัดตกแต่งตน
     คำ “บัน” นั้นฉงน                            ระวังปนกับ “ร หัน”

          ๖. การใช้ตัวสะกด มีหลักการสังเกตดังนี้
                   ตัวสะกดคือรูปพยัญชนะที่ประกอบอยู่ข้างท้ายสระและมีเสียงประสมเข้ากับสระจัดไว้เป็น         พวกๆ ตามเสียงสะกดดังนี้
          เสียงแม่ กก     มีตัว               ก ข ค ฆ เป็นตัวสะกด เช่น รัก สุข โชค เมฆ เป็นต้น
          เสียงแม่ กด     มีตัว               ด ต จ ข ซ ฎ ฏ ฐ  ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด เช่น
                                                ปิด จิต ดุจ ราช ก๊าซ กฎ ปรากฏ รัฐ ครุฑ พุฒ รถ บท อาวุธ
                                                อากาศ พิษ โอกาส เป็นต้น
          เสียงแม่ กบ     มีตัว               บ ป พ ภ เป็นตัวสะกด เช่น จับ บาป ภพ ลาภ เป็นต้น
          เสียงแม่ กง     มีตัว               เป็นตัวสะกด เช่น สูง ทาง แข็ง เป็นต้น
       เสียงแม่ กน  มีตัว               น ญ ณ ร ล ฬ เป็นตัวสะกด เช่น กิน หาร คุณ สาร ตาล กาฬ                                             เป็นต้น
          เสียงแม่ เกย    มีตัว               เป็นตัวสะกด เช่น สวย เชย ยาย กล้วย โกย ด้วย เป็นต้น
          เสียงแม่ เกอว  มีตัว               เป็นตัวสะกด เช่น ขาว เคี่ยว ฉิว เป็นต้น
                       
                   คำที่ใช้ตัว จ ญ ร ล ฬ สะกด เป็นคำไทยที่รับมากจากเขมร หรือคำบาลีสันสกฤตเป็น              ส่วนใหญ่ ตัวสะกดเหล่านี้มักเขียนตามรูปคำในภาษาเดิม จึงต้องใช้การสังเกตและจดจำ คำเหล่านี้  ส่วนหนึ่ง กำชัย ทองหล่อ (๒๕๔๐) ได้นำมามาประพันธ์เป็นกาพย์ให้ง่ายต่อการจดจำดังนี้

คำที่ใช้ตัว “จ” สะกด
                             ตำรวจตรวจคนเท็จ                        สำเร็จเสร็จระเห็จไป
                   สมเด็จเสด็จไหน                                                ตรวจตราไวดุจนายงาน
                             อำนาจอาจบำเหน็จ                        จรวจเห็จเผด็จการ
                   ฉกาจรังเกียจวาน                                    คนเกียจคร้านไม่สู้ดี
                   แก้วเก็จทำเก่งกาจ                                    ประดุจชาติทรพี
                   โสรจสรงลงวารี                                       กำเหน็จนี้ใช้ตัว “จ”
                                               
คำที่ใช้ตัว “ญ” สะกด
                             ลำเค็ญครวญเข็ญใจ                      ควาญช้างไปหานงคราญ
                   เชิญขวัญเพ็ญสำราญ                               ผลาญรำคาญลาญระทม
                             เผอิญเผชิญหาญ                           เหรียญรำบาญอันขยม
                   รบราญสราญชม                                               ดอกอัญชันอัญเชิญเทอญ
                             ประจญประจัญบาน                       ผจญการกิจบังเอิญ
                   สำคัญหมั่นเจริญ                                               ถือกุญแจรัญจวนใจ
                   รามัญมอญจำเริญ                                   เขาสรรเสริญไม่จัญไร
                   ชำนาญชาญเกรียงไกร                                เร่งผจัญตามบัญชา
                   จรูญบำเพ็ญยิ่ง                                       บำนาญสิ่งสะคราญตา
                   ประมวญชวนกันมา                                   สูบกัญชาไม่ดีเลย
คำที่ใช้ตัว “ล” สะกด
                             ตำบลยุบลสรวล                            ยลสำรวลนวลกังวล
                   บันดาลในบันดล                                      ค่ากำนลของกำนัล
                             ระบิลกบิลแบบ                    กลทางแคบเข้าเคียมคัล
                   ดลใจให้รางวัล                               ปีขาลบันเดินเมิลมอง

คำที่ใช้ตัว “ร” สะกด
                   กร การ กำธร ควร จร จาร เจียร  ประยูร พร เพียร ระเมียร ละคร วาร ศร สาร อรชร

คำที่ใช้ตัว “ฬ” สะกด
                   กาฬ ทมิฬ ปลาวาฬ พาฬ (สัตว์ร้าย) ประพาฬ (แก้วสีแดงอ่อน) วิรุฬห์ (เจริญ) ทัฬห (มั่นคง)
                  
          ๗. การใช้ตัวสะกดตามอักขรวิธีของภาษาบาลี
                   พยัญชนะในภาษาบาลี จัดเป็นวรรคดังนี้

                                                ๑        ๒        ๓       ๔        ๕
                              วรรค ก                   ก        ข        ค        ฆ        ง
                             วรรค จ                   จ        ฉ        ช        ฌ       ญ
                             วรรค ฏ                  ฏ        ฐ        ฑ        ฒ       ณ
                             วรรค ต                   ต        ถ        ท        ธ        น
                             วรรค ป                  ป        ผ        พ        ภ        ม
                             เศษ วรรค      ย        ร        ล        ว        ส        ห        ฬ

          การใช้ตัวสะกดตามหลักอักขรวิธีภาษาบาลี มีหลักในการสังเกตดังนี้
                   พยัญชนะแถวที่ ๑ สะกด พยัญชนะแถวที่ ๑ หรือ ๒ ในวรรคเดียวกันตามได้ ดังนี้
                   ๑ สะกด ๑ ตาม เช่น                สักการะ ปัจจัย วัฏฏะ อัตตา กัปปิยะ
                   ๑ สะกด ๒ ตาม เช่น                อักขระ ปุจฉา รัฏฐาภิบาล วัตถุ บุปผา
                                               
                   พยัญชนะแถวที่ ๓ สะกด พยัญชนะแถวที่ ๓ หรือ ๔ ในวรรคเดียวกันตามได้ ดังนี้
                   ๓ สะกด ๓ ตาม เช่น                สมัชชา ลุททะ (นายพราน) บุคคล
                   ๓ สะกด ๔ ตาม เช่น                พยัคฆ์ อัชฌาสัย พุทธ วุฑฒิ ลัทธิ อัพภาส

                   พยัญชนะแถวที่ ๕ สะกด พยัญชนะทุกตัว ในวรรคเดียวกันตามได้ ดังนี้
                   ๕ สะกด ๑ ตาม เช่น                องก์ เบญจะ สันติ สัมปทาน
                   ๕ สะกด ๒ ตาม เช่น                ลัญฉกร สัณฐาน สันถวไมตรี สัมผัส
                   ๕ สะกด ๓ ตาม เช่น                องค์ สัญชาติ มณฑล วันทนา กัมพล
                   ๕ สะกด ๔ ตาม เช่น                สงฆ์ สนทยา สมภพ
                   ๕ สะกด ๕ ตาม เช่น                สัญญา วัณณา สันนิบาต สัมมนา

          ทั้งนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ ได้กำหนดวิธีการเขียนคำที่มาจากภาษาบาลีให้ง่ายขึ้นดังนี้
            ก. ตัวที่มีอักษรซ้ำเช่น กิจจ เขตต จิตต ในกรณีที่ตัวหลังไม่มีสระกำกับ ให้ตัดออกตัวหนึ่งเป็น กิจ เขต จิต แม้จะเป็นส่วนหน้าสมาสก็ออกเสียงได้นิดหนึ่งโดยไม่ต้องซ้อนเช่น กิจกรรม นิจศีล จิตวิทยา ต่อมาเมื่อตัวหลังมีสระอื่นกำกับ หรือมีตัวสะกดจึงซ้อนอีกตัวหนึ่งได้ เช่น วักกะ กิจจา อัคคี รัชชูปการ บุคคล ประภัสสร
            ทั้งนี้เว้นแต่คำโบราณที่เคยเขียนมาแล้วอย่างไรก็ให้เขียนตามโบราณ เช่น บริจาค อุทิศ ส่วนคำที่เป็นธรรมบัญญัติ หรือคำที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาจะเขียนตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้คือ ตัดตัวซ้อนออกตัวหนึ่ง เช่น วิปัสนา จิตวิสุทธิ หรือจะเขียนเต็มรูปตามภาษาเดิมเป็น วิปัสสนา จิตตวิสุทธิ ก็ได้
            ตัวละกดที่มีอักษรซ้อน เฉพาะในวรรค ฏะ เช่น รัฏฐะ อัฑฒะ ในกรณีที่ตัวหลังไม่มีสระกำกับให้ตัดตัวหน้าออกเ เช่น รัฐ อัฒ แม้จะเป็นส่วนหน้าสมาสก็ออกเสียงตัวสะกดได้โดยไม่ต้องซ้อนเช่น รัฐบาล อัฒจันทร์ ต่อเมื่อตัวหลังมีสระอื่นกำกับหรือมีตัวสะกดซ้อนอีกตัวหนึ่งได้ เช่น รัฏฐาภิปาลนโยบาย กุฏฐัง เว้นแต่ในกรณีที่มีสระอิกำกับอยู่ที่พยัญชนะตัวหลังเช่น วุฑฒิ อัฏฐิ ทิฏฐิ ให้ตัดตัวหน้าออกแล้วใช้แต่ตัวหลังตัวเดียวคือ วุฒิ อัฐิ ทิฐิ
 
                       




การใช้วรรณยุกต์
          การใช้วรรณยุกต์เกี่ยวข้องกับการใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ในคำไทย และคำยืมที่มาจากภาษาต่างประเทศ
          ๑. การใช้วรรณยุกต์ในคำไทย
                    พยางค์และคำในภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่ง แต่ในการ เขียนพยางค์หรือคำนั้นจะต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์หรือไม่ ถ้าใส่จะใส่วรรณยุกต์ใดขึ้นอยู่กับ      หลักการผันวรรณยุกต์ ดังหลักการต่อไปนี้
๑)      การจำแนกคำตามไตรยางศ์
     ไตรยางศ์มาจากคำว่า ตฺรยางฺศ มีความหมายว่า สามส่วน ไตรยางศ์เป็นการแบ่งตัวพยัญชนะออกเป็นสามหมู่คือ อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ ตามความแตกต่างกันในการผันวรรณยุกต์
     อักษรสูง คือพยัญชนะที่มีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา มีพยัญชนะ ๑๑ ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส และ ห
     อักษรกลาง คือพยัญชนะที่มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ มีพยัญชนะ ๙ ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป และ อ
     อักษรต่ำ คือพยัญชนะที่มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ มีพยัญชนะ ๒๔ ตัว ประกอบด้วยอักษรคู่ กับอักษรเดี่ยว ได้แก่
     อักษรคู่ คือ อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี ๑๔ ตัวได้แก่ ค ฅ ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ และ ฮ
     อักษรเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี ๑๐ ตัวได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว และ ฬ
๒)      การผันวรรณยุกต์
     การผันวรรณยุกต์หมายถึง การเปลี่ยนรูปวรรณยุกต์ของพยางค์ที่ประกอบด้วยพยัญชนะต้นกับสระ หรือพยัญชนะต้นกับสระและตัวสะกดอย่างเดียวกัน ใส่รูปวรรณยุกต์ต่างกันตามที่ปรากฏเป็นพยางค์ในภาษาไทยได้ เช่น
              ปา      ป่า      ป้า      ป๊า      ป๋า
              กาง     ก่าง     ก้าง     ก๊าง     ก๋าง
              ขา       ข่า       ข้า
              ขาว     ข่าว     ข้าว
              เรือ      เรื่อ      เรื้อ
              ลาง     ล่าง     ล้าง
              คาว     ค่าว     ค้าว     เป็นต้น

     ในการผันวรรณยุกต์นั้นต้องเข้าใจว่า พยางค์ทุกพยางค์มีพื้นเสียงอยู่แล้วคือ มีเสียงวรรณยุกต์โดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับอยู่ เช่น ปา มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ ปัก มีเสียงวรรณยุกต์เอก ชาด มีเสียงวรรณยุกต์โท รัก มีเสียงวรรณยุกต์ตรี ขาว มีเสียงวรรณยุกต์จัตวา เป็นต้น พยางค์จะผันวรรณยุกต์ได้ขึ้นอยู่กับหมู่อักษรของพยัญชนะต้น ลักษณะของพยางค์ที่เป็นคำเป็นคำตาย และสระสั้นหรือยาวของพยางค์ที่เป็นคำตายนั้น
     คำเป็น หมายถึง พยางค์ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
ก.       พยางค์ที่ประสมกับสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด เช่น ปู่ ข้า มี หมู ห้า ตัว เป็นต้น
ข.       พยางค์ที่มีพยัญชนะสะกดอยู่ในแม่ กง กน กม เกย และ เกอว เช่น ดวง เพลิน ชม พลอย ขาว รวมทั้งพยางค์ที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ และ เอา ซึ่งมีเสียงพยัญชนะท้ายเป็นเสียงเดียวกับเสียงตัวสะกดในแม่ กม เกย และ เกอว
                             คำตาย หมายถึง  พยางค์ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
ก.       พยางค์ที่ประสมกับสระเสียงสั้น ไม่มีพยัญชนะสะกดเช่น ติ ผุ ลุ ปะ พระ
ข.       พยางค์ที่มีพยัญชนะสะกดอยู่ในแม่ กก กด และ กบ เช่น ลูก คิด ดีด นับ เลข เป็นต้น

๓)      การผันอักษรกลาง
                             พยางค์ที่มีอักษรกลางเป็นพยัญชนะต้นและเป็นคำเป็นจะผันได้ทุกเสียง รูป                         วรรณยุกต์ที่กำกับและเสียงจะตรงกัน อักษรกลางคำเป็นจึงเป็นคำที่ใช้เทียบเสียงวรรณยุกต์           ได้
                             อักษรกลางคำเป็น       พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญผันได้ครบ ๕ เสียง รูปวรรณยุกต์                                                       เอกเป็นเสียงเอก รูปวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท รูป                                                               วรรณยุกต์ตรี รูปวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น                                                           ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า กง ก่ง ก้ง ก๊ง ก๋ง เดียว เดี่ยว เดี้ยว                                                     เดี๊ยว เดี๋ยว เป็นต้น
                             อักษรกลางคำตาย       พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง รูปวรรณยุกต์โท                                                           เป็นเสียงโท รูปวรรณยุกต์ตรีเป็นเสียงตรี รูปวรรณยุกต์                                                         จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ จัก จั้ก จั๊ก จั๋ก                                                       จาบ จ้าบ จ๊าบ จ๋าบ เป็นต้น
                                                          *อักษรกลางคำตายที่ผันด้วยวรรณยุกต์เสียงจัตวาไม่มีใช้ในภาษาไทย
๔)      การผันอักษรสูง
                             อักษรสูงคำเป็น                   พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้ ๓ เสียง รูปวรรณยุกต์                                                           เอกเป็นเสียงเอก รูปวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ขา ข่า                                                      ข้า ผี ผี่ ผี้ สม ส่ม ส้ม เป็นต้น
                             อักษรสูงคำตาย                   พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๒ เสียง รูปวรรณยุกต์โทเป็น                                                      เสียงโท เช่น ผัด ผั้ด ขาด ข้าด เป็นต้น
๕)      การผันอักษรต่ำ               
                             อักษรต่ำคำเป็น                   พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียงรูปวรรณยุกต์เอก                                                       เป็นเสียงโท รูปวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า                                                       คัน คั่น คั้น เป็นต้น
                             อักษรต่ำคำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันได้ ๓ เสียงรูปวรรณยุกต์เอก                                                            เป็นเสียงโท รูปวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น
                                                          คะ ค่ะ ค๋ะ คึก คึ่ก คึ๋ก เป็นต้น
                                                          *อักษรต่ำคำตายสระสั้นที่ผันด้วยวรรณยุกต์เสียงจัตวามีใช้ในภาษาไทยเพียง                                                                                         คำเดียวคือ ค๋ะ
                             อักษรต่ำคำตายสระยาว         พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันได้ ๓ เสียงรูปวรรณยุกต์โท                                                            เป็นเสียงตรี รูปวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น
                                                          วาก ว้าก ว๋าก โนด โน้ด โน๋ด เชิด เชิ้ด เชิ๋ด เป็นต้น
                                                          *อักษรต่ำคำตายสระยาวที่ผันด้วยวรรณยุกต์เสียงจัตวาไม่มีใช้ในภาษาไทย
๖)      การผันอักษรต่ำคู่และอักษรต่ำเดี่ยว
                             อักษรคู่หมายถึง อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูงดังต่อไปนี้
                                      อักษรต่ำ(คู่)       ค ฅ ฆ ช ฌ ซ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ (๑๓ ตัว)
                                      อักษรสูง          ข ฃ ฉ ฐ ฒ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห (๑๒ ตัว)
                       
                             อักษรเดี่ยวหมายถึง อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง จำนวน ๑๐ ตัวคือ
                                      อักษรต่ำ(เดี่ยว)   ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล

                             อักษรคู่คำเป็น           พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียง (คา ค่า ค้า)
                                                          เมื่อรวมกับอักษรสูง (คำเป็น) ที่ผันได้ ๓ เสียง
                                                          (ขา ข่า ข้า) จะผันได้ครบ ๕ เสียง เช่น
                                                          คา       ข่า                ค่า/ข้า            ค้า       ขา
                                                          คัน      ขั่น                คั่น/ขั้น           คั้น      ขั้น
                                                          ไซ       ใส่                 ไซ/ไส้             ไซ้       ใส
                             อักษรคู่คำตาย           ผันได้ ๓ เสียง (คะ ค่ะ ค๋ะ) เมื่อรวมกับอักษรสูง (คำตาย)                                                      ที่ผันได้ ๒ เสียง (ขะ ข้ะ) จะผันได้รวม ๔ เสียง เพราะ
                                                          ไม่มีเสียงสามัญ เช่น
                                                          ขะ      ข้ะ/ค่ะ            คะ                ค๋ะ
                                                          ขึก      ขึ้ก/คึ่ก            คึก                คึ๋ก
                             อักษรเดี่ยวคำเป็น       อักษรเดี่ยวคำเป็นผันได้ ๓ เสียง (นา น่า น้า) เมื่อใช้                                                           อักษรนำ แบบ ห นำ จะทำให้ผันได้ครบ ๕ เสียง ดังนี้
                                                          นา      หน่า     น่า/หน้า                   น้า      หนา
                                                          มอ      หม่อ     ม่อ/หม้อ          ม้อ      หมอ
                             อักษรเดี่ยวคำตายสระสั้น                ผันได้ ๓ เสียง (นะ น่ะ น๋ะ) เมื่อใช้อักษรนำ                                                                              แบบ ห จะทำให้ผันได้ ๔ เสียง ดังนี้
                                                                   หนะ    น่ะ/หน้ะ         นะ      น๋ะ
                                                                   หนัก    นั่ก/หนั้ก         นัก      นั๋ก
                             อักษรเดี่ยวคำตายสระยาว      ผันได้ ๓ เสียง (วาก ว้าก ว๋าก) เมื่อใช้อักษรนำ                                                                 แบบ ห นำ จะทำให้ผันได้ ๔ เสียง ดังนี้
                                                                   หวาก   วาก/หว้าก       ว้าก     ว๋าก
                                                                   โหนด   โนด/โหน้ด       โน้ด     โน๋ด
                                                                   *มีคำ ๔ คำที่มี “ย” เป็นพยัญชนะต้นที่ “อ” นำได้ คือ อย่า อยู่                                                                                                           อย่าง อยาก ซึ่งมีเสียงวรรณยุกต์เอก

๗)      ตัวอย่างตารางแสดงการผันวรรณยุกต์

ลักษณะพยางค์
สามัญ
เอก
โท
ตรี
จัตวา
อักษรกลาง
คำเป็น

กา
ก่า
ก้า
ก๊า
ก๋า



กัน
กั่น
กั้น
กั๊น
กั๋น



กาง
ก่าง
ก้าง
ก๊าง
ก๋าง
อักษรกลาง
คำตาย


จะ
จ้ะ
จ๊ะ
จ๋ะ




จับ
จั้บ
จั๊บ
จั๋บ




จาบ
จ้าบ
จ๊าบ
จ๋าบ
อักษรสูง
คำเป็น


ข่า
ข้า

ขา




ผี่
ผี้

ผี




ข่น
ข้น

ขน
อักษรสูง
คำตาย


ขะ
ข้ะ






ขัด
ขั้ด






ขาด
ข้าด


อักษรต่ำ
คำเป็น

คา

ค่า
ค้า




ลาม

ล่าม
ล้าม




คาน

ค่าน
ค้าน

อักษรต่ำ
คำตาย
สระสั้น


ค่ะ
คะ
ค๋ะ





คึ่ก
คึก
คึ๋ก
อักษรต่ำ
คำตาย
สระยาว


วาก
ว้าก
ว๋าก





เชิด
เชิ้ด
เชิ๋ด
อักษรคู่
คำเป็น

คา
ข่า
ค่า/ข้า
ค้า
ขา



คัน
ขั่น
คั่น/ขั้น
คั้น
ขัน



คาง
ข่าง
ค่าง/ข้าง
ค้าง
ขาง
อักษรคู่
คำตาย
สระสั้น

ขึก
คึ่ก/ขึ้ก
คึก
คึ๋ก
อักษรคู่
คำตาย
สระยาว

ขาด
คาด/ข้าด
ค้าด
ค๋าด
อักษรเดี่ยว
คำตาย
สระสั้น

หนะ
น่ะ/หน้ะ
นะ
น๋ะ
อักษรเดี่ยว
คำตาย
สระยาว

โหนด
โนด/โหน้ด
โน้ด
โน๋ด

          ๒. การใช้วรรณยุกต์ในคำที่มาจากภาษาอื่น
๑)      คำที่มาจากภาษาจีนใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ตามเสียงเช่น ก๋ง เกี๊ยว ก๋วยเตี๋ยว ขาก๊วย จับฉ่าย เจ๊ ตี๋ ไต้ก๋ง เป็นต้น
๒)      คำที่มาจากภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ไม่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์เช่น เทป ช็อกโกแลต ชอล์ก ซุก นอต เทคนิค ออฟฟิศ ยุโรป อียิปต์ ฟอร์ด ยูเนสโก วอซิงตัน ไนโตรเจน นิวยอร์ก เป็นต้น
๓)      คำบางคำที่นอกเหนือจาก ๒ ข้อข้างต้น ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์และไม่ตรงกับหลักดังกล่าว ให้ยึดเอาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานเช่น แท็กซี่ เชิ้ต โน้ต ก๊าซ แก๊ส โจ๊ก โป๊บ แป๊บ เป็นต้น

การเขียนคำลักษณะพิเศษ
          ๑. การเขียนชื่อเฉพาะ
                   ชื่อเฉพาะในที่นี้หมายถึง ชื่อบุคคล สถานที่ และวิสามานยนามอื่นๆ อาจเขียนไม่ตรงตามการ      เขียนที่ปรากฏยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ผู้เขียนต้องสังเกตและจดจำไว้เพื่อจะได้เขียน ถูกต้อง นอกจากนี้ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขตามประกาศของราชการอีกด้วย
                   ตัวอย่างการเขียนชื่อเฉพาะเช่น
                             ชื่อทวีป           เอเชีย แอฟริกา แอนตาร์กติกา ฯลฯ
                             ชื่อประเทศ       บาห์เรน บังกลาเทศ กรีซ โมร็อกโก เวียดนาม ฯลฯ
                             ชื่อเมืองหลวง     ปานามา เอเธนส์ ราบัต โซล ฯลฯ
                             ชื่อเกาะ           หมู่เกาะแกโรไลน์ เกาะเซลีบีส เกาะซิชิลี
                             ชื่อบุคคล         ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุชาดา กีระนันท์
                                                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี นาคะผดุงรัตน์
                                                 นายพนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์
                              ชื่อสถานที่        พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธศากยมุนี
                                                โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ องค์การมหาชน ฯลฯ

          ๒. การเขียนพระอิสริยยศ พระนาม ราชทินนามและสมณศักดิ์
                   ราชทินนาม คือนามที่พระราชทานพร้อมอิสริยยศ สมณศักดิ์ หรือบรรดาศักดิ์ ราชทินนามจะ      มีคำที่แสดงอิสริยยศ สมณศักดิ์ หรือบรรดาศักดิ์ นำหน้า ผู้ที่มีราชทินนามไม่ต้องใช้นามเดิม แต่ถ้า    ต้องการไม่ให้ผิดตัวก็ลงนามเดิมกับฉายา หรือนามสกุลไว้วงเล็บข้างท้าย การเขียนราชทินนาม        ต้อง     เขียนติดกันไม่เว้นวรรค ตัวอย่าง
                   พระอิสริยยศกับราชทินนามของพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น
                             สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
                             พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
                             พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
                   สมณศักดิ์ และราชทินนามของพระสงฆ์ เช่น
                             สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโต)
                             พระพรหมมุนี (สุวโจ)
                             พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
                             พระพิศาลธรรมพาที (พะยอม กฺลยาโณ)    
                    ราชทินนามของขุนนาง เช่น
                             เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดินทร์ ณ อยุธยา)
                             พระยาอนุมานราชธน (ยง อนุมานราชธน)
                             พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)
                             พระวรเวทย์พิสิฐ (วรเวทย์ ศิวะศริยานนท์)
                             พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป)
                             หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม)
                             หลวงลิขิตปรีชา (กระแส ดิษยนันทน์)

          ๓. การเขียนคำย่อและอักษรย่อ
                   คำย่อมี ๒ ประเภทคือ
๑)      คำที่ตัดให้สั้นและใช้เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) เขียนกำกับต่อท้ายโดยไม่ต้องเว้นช่องไฟ เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ น้อมเกล้าฯ เป็นคำย่อที่ใช้ในภาษาเขียนได้
๒)      คำที่ตัดบางส่วนของคำออก เช่น กันยา (กันยายน) ตุลา (ตุลาคม) สะพานปิ่นเกล้า (สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า) สะพานพุทธ (สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) เป็นคำย่อที่ใช้ในภาษาพูดแต่ไม่ใช้ในภาษาเขียน ถ้าจะเขียนคำภาษาพูดเหล่านี้ ในภาษาเขียน (ระดับไม่เป็นทางการ) ไม่ต้องใส่เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ)
อักษรย่อ หมายถึง อักษรที่ใช้แทนคำเขียนให้สั้น มักใช้อักษรตัวแรกของคำหรือพยางค์มาเรียงเข้าด้วยกัน โดยใช้เครื่องหมายมหัพภาค (.) กำกับทุกตัวอักษร กำกับกลุ่มตัวอักษร หรือไม่ใช้เครื่องหมายมหัพภาคก็ได้ ทั้งนี้ต้องสังเกตและเขียนตามที่หน่วยงานนั้นๆ กำหนด
          ตัวอย่างการเขียนอักษรย่อ
                   กทม.              กรุงเทพมหานคร
                   กฟฝ.              การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
                   ครม.              คณะรัฐมนตรี
                   กห.               กระทรวงกลาโหม
                   ศธ.                กระทรวงศึกษาธิการ
                   อบจ.              องค์การบริหารส่วนจังหวัด
                   อบต.              องค์การบริหารส่วนตำบล
                   อส.รด.            อาสาสมัครรักษาดินแดน
                   กก.               กิโลกรัม
                   มม.               มิลลิเมตร
                   ม.ป.ช.            มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
                   พ.บ.              แพทยศาสตร์บัณฑิต
                   ศษ.บ.             ศึกษาศาสตรบัณฑิต
                   ร.ศ.               รัตนโกสินทร์ศก
                   พ.ศ.               พุทธศักราช
                   รศ.                รองศาสตราจารย์          เป็นต้น

          เรื่องการเขียนอักษรย่อต้องศึกษาเป็นกรณีพิเศษเพราะอาจมีคำหลายคำที่ใช้อักษรย่อเหมือนกัน บางคำใช้เครื่องหมายกำกับต่างกันและบางคำใช้เครื่องหมายกำกับเหมือนกัน เช่น
                   ช.ม.               จังหวัดเชียงใหม่
                   ชม.                ชั่วโมง
                   กม.               กิโลเมตร
                   กม.               กฎหมาย
                   ร.ร.               โรงเรียน
                   รร.                โรงแรม
                       
การใช้เครื่องหมายประกอบคำ
          ๑. การใช้ทัณฑฆาต ( ์)
                   เครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์) เป็นเครื่องหมายที่ใช้เขียนกำกับบนพยัญชนะที่ไม่ต้องการออก เสียง เช่น กรณีย์ คัมภีร์ ปรางค์ สาส์น ฟิล์ม กอล์ฟ ชอล์ก เป็นต้น
                   คำที่มาจากภาษาสันสกฤตบางคำพยัญชนะที่ไม่ต้องการออกเสียงมีหลายตัว เมื่อใส่        เครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์) กำกับที่พยัญชนะตัวท้ายแล้วไม่ต้องใส่บนตัวอื่นอีกเช่น พักตร์ กาญจน์ ราษฎร์ ลักษณ์ ลักษมณ์ เป็นต้น
          ๒. การใช้ไม้ยมก (ๆ)
๑)      เครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) ให้เขียนหลังคำ วลี หรือประโยคเพื่ออกเสียงซ้ำ อาจซ้ำคำเดียวเช่น เดินดีๆ พูดน้อยๆ ทำมากๆ มาบ่อยๆ ซ้ำสองคำเช่น คนหนึ่งๆ ปีหนึ่งๆ วันหนึ่งๆ หรือซ้ำทั้งประโยค เช่น ฝนตกแล้วๆ ไฟไหม้ๆ น้ำท่วมแล้วๆ พระอาทิตย์ขึ้นแล้วๆ
๒)      ข้อห้ามสำหรับการใช้เครื่องหมายไม้ยมก (ๆ)
ก.       ไม่นิยมใช้ในการเขียนบทร้อยกรอง เช่น
     รอนรอนสุริยโอ้            อัสดง
     เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง     นกบินเฉียงไปทั้งหมู่ เป็นต้น
ข.       ไม่ใช้กับคำต่างชนิดกัน
     นายอยู่อยู่ในสวน
     นายดำซื้อที่ที่เมืองกาญจน์ เป็นต้น
ค.       ไม่ใช้ข้ามประโยค เช่น
ยายเก็บดอกมะลิ ดอกมะลิราคาดีตอนหน้าแล้ง
แม่เลี้ยงปลานิล ปลานิลเลี้ยงง่ายโตเร็ว เป็นต้น
ง.        ไม่ใช้กับภาษาต่างประเทศที่ออกเสียงซ้ำ เช่น
     นานา (ภาษาบาลี) ชิงชิง (ภาษาจีน) เป็นต้น

          ๓. การใช้ไปยาลน้อย (ฯ) และไปยาลใหญ่ (ฯลฯ)
                   เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) ใช้เขียนไว้หลังคำที่รู้กันโดยทั่วไป หรือรู้กันระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง       แต่ละส่วนหลังไว้ เหลือแต่ส่วนหน้าของคำไว้พอเป็นที่เข้าใจ เมื่ออ่านออกเสียงจะต้องอ่านส่วนที่ละไว้       นั้นให้ครบจึงจะนับว่าอ่านถูกต้องตามแบบแผนเช่น
                   ข้าฯ               มาจาก            ข้าพเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า
                   เกล้าฯ            มาจาก            เกล้ากระผม เกล้ากระหม่อม
                   กรุงเทพฯ         มาจาก            กรุงเทพมหานคร

                   เครื่องหมายไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) ใช้เขียนหลังข้อความที่จะมีต่อไปอีกมากเช่น
                   ในพิธีถวายราชสดุดีครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก อาทิ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาล ข้าราชการ     ทหาร ตำรวจ ฯลฯ
                   ในสวนมีต้นไม้ต่างๆ เช่น มะม่วง มะพร้าว มะปราง ฯลฯ
                   ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย
                                               
          ๔. การใช้เครื่องหมายวรรคตอน
                   เครื่องหมายวรรคตอบมีความสำคัญในการเรียบเรียงข้อความเพื่อให้อ่านได้ถูกต้อง การใช้ เครื่องหมายของไทยมีมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน
                   เครื่องหมายวรรคตอนที่ใช้ในปัจจุบันตั้งขึ้นตามแบบภาษาอังกฤษซึ่งใช้ตัวอักษรโรมัน      เครื่องหมายวรรคตอนที่มีใช้ดังนี้คือ
                   ,         เรียกว่า จุลภาค ใช้สำหรับคั่นคำหลายๆ คำ ที่เรียงติดกันไปเช่น นั่ง, นอน, เดิน, วิ่ง       ใช้คั่นประโยคที่รวมกันหลายประโยคเช่น เขาชอบวิ่งในตอนเช้า, ดื่มน้ำส้มในตอนสาย, ดื่มกาแฟเวลา   บ่าย, และชอบออกกำลังกายในตอนเย็น เป็นต้น
                   ;         เรียกว่า อัฒภาค ใช้คั่นข้อความที่แยกจากกัน แต่มีความต่อเนื่องกันอยู่เช่น “กิ่ง           หมายความว่า ส่วนที่แยกจากต้น, แขนง; ลักษณนามของงาช้าง เช่น งา ๑ กิ่ง; เรือชนิดหนึ่งในขบวน พยุหยาตรา”
                   .         เรียกว่า มหัพภาค หรือ จุด เขียนไว้ข้างหลังตัวอักษรคำย่อและตัวเลข รวมทั้งเขียน       ไว้หลังข้อความเมื่อจบประโยค
                   :         เรียกว่า ทวิภาค ใช้แสดงมาตราส่วน เช่น ๑ : ๑๐,๐๐๐ ใช้แสดงอัตราส่วนเช่น ยานี้      ใช้ผสมน้ำ ๑ : ๒ ใช้นำส่วนขยายความเช่น หลักภาษา : ศึกษาความแตกต่างระหว่างหลักเกณฑ์ของ    ภาษากับการใช้ภาษา
                   ?        เรียกว่า ปรัศนีหรือเครื่องหมายคำถาม ใช้เขียนไว้หลังข้อความที่เป็นคำถามโดยตรง       เช่น ท่านเป็นใคร? ทำไมจึงมาสาย? เป็นต้น
                   !         เรียกว่า อัศเจรีย์ หรือเครื่องหมายตกใจ ใช้เขียนไว้หลังคำอุทานที่แสดงอารมณ์ต่างๆ      ได้แก่ ดีใจ, เสียใจ, ตกใจ, สลดใจ, แปลกใจ, เป็นต้น เช่น โอ้โฮ! อนิจจา! ตายแล้ว! โถ! อุ๊ย! เป็นต้น
                   ( )       เรียกว่า นขลิขิต หรือวงเล็บ ใช้กำกับตัวเลข ตัวหนังสือ หรือข้อความที่กันไว้เป็น พิเศษ เช่น (๑), ลูกปืนขนาด ๑๑ มม. (มิลลิเมตร), ผล (ป. ; ส)
                   “”      เรียกว่า อัญประกาศ หรือเครื่องหมายในเลข ใช้เขียนคร่อมข้อความที่ต้องการให้          ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ หรือข้อความที่เป็นความคิด คำสนทนาปราศรัย หรือตัดทอนมาจากคำพูดของ   ผู้อื่น เช่น
                   “ขงจื้อ” เป็นชื่อศาสนาหนึ่งของประเทศจีน
                   “หนังสือเปรียบเสมือนคลังที่รวบรวมเรื่องราว ความรู้ความคิด วิทยาการทุกด้าน ทุกอย่าง         หนังสือจึงเป็นสิ่งมีค่าและประโยชน์อันประมาณมิได้...”(พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีเปิดงานปี หนังสือระหว่างชาติ ๒๕๑๕ และงานการแสดงการพิมพ์แห่งประเทศไทยครั้งที่ ๓ วันศุกร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕) 
                    -         เรียกว่า ยัติภังค์ หรือขีดสั้น ใช้เขียนระหว่างกลางคำที่เขียนแยกพยางค์กัน เพื่อให้รู้       ว่าพยางค์หน้ากับพยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคำเดียวกัน เช่น จงหมั่นประกอบพา-   ณิชการ    ขวนขวาย
                   =        เรียกว่า เสมอภาค หรือ สมกา หรือ เครื่องหมายเท่ากับ ใช้เขียนคั่นกลางว่าความ         ข้างหน้ากับข้างหลังมีส่วนเท่ากัน เช่น
                                       กษีร              =                  น้ำนม
                                       ทิฆัมพร           =                  ท้องฟ้า
                   “_”     เรียกว่า สัญประกาศ ใช้สำหรับขีดใต้ข้อความที่เห็นว่าสำคัญเพื่อให้ผู้อ่านสังเกตเป็น       พิเศษ จึงขีดเส้นใต้ข้อความตอนนั้น เช่น
                             “สองสุริยพาศผ่านหล้า              ขับคเชนทร์บ่ายหน้า
                             “อีกศิลปศาสตร์มี                   จะประกอบมนุญการ
                    ,,       เรียกว่า บุพสัญญา ใช้แทนคำบรรทัดบนที่เขียนเหมือนกันและอยู่ตรงกัน เช่น
                                      ปลาช่อน         คำสุภาพใช้ว่า    ปลาหาง
                                      พริกขี้หนู                ,,           พริกเม็ดเล็ก
                                      ผักบุ้ง                    ,,           ผักทอดยอด      เป็นต้น



          ๕. การใช้เครื่องหมายโบราณ
                   เครื่องหมายโบราณที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเก่า เช่นใบลาน สมุดไทย หรือสมุดข่อยที่จารึก เรื่องราวต่างๆ ทั้งจารึกพระธรรม กฎหมายและตำราต่างๆ เพื่อแบ่งข้อความออกเป็นวรรคเป็นตอนให้       อ่านได้สะดวก มีดังต่อไปนี้
                    ๏        เรียกว่า ฟองมัน หรือ ตาไก่ ใช้สำหรับเขียนไว้ต้นวรรค ต้นบทคำประพันธ์ ต้น   บรรทัดหรือต้นข้อความสั้น เช่น
                                      ๏ หลวงสารประเสริฐน้อย          นามเดิม
                             คิดจัดจำแนกเติม                              ต่อตั้ง
                             ใดพร่องปราชเชิญเสริม                       แซมใส่  เทอญพ่อ
                             ต้นแต่นโมทั้ง                                  หมู่ไม้เอกโท
                                                                                                            (มูลบพบรรพกิจ, ๒๕๑๔: ๒)
                   ″         เรียกว่า ฟันหนู ใช้เขียนไว้บนฟองมัน ๏″ เรียกชื่อว่า ฟองมันฟันหนู สำหรับเขียนไว้      ต้นข้อความใหญ่
                   ฯ        เรียกว่า อังคั่นเดี่ยว ใช้เขียนเมื่อจบประโยคแต่ละประโยคหรือเขียนไว้ตอนสุดท้าย        ของโคลง กลอน แต่ละบท หรือใช้เขียนเป็นเครื่องหมาย วัน – เดือน – ขึ้นแรมทางจันทรคติ เช่น

                             ๕        ฯ        ๖        อ่านว่า            วันพฤหัสบดี แรมสิบค่ำเดือนหก
                                      ๑๐
                    ๚       เรียกว่า อังคั่นคู่ หรือคั่นคู่ ใช้เขียนเมื่อจบข้อความใหญ่หรือจบเรื่อง
                   ๚ะ      เรียกว่า อังคั่นวิสรรชนีย์ ใช้เขียนไว้หลังโคลงแต่ละบท หรือข้อความที่สิ้นกระแส
          แต่ละตอน คล้ายกับมหัพภาค เช่น
                             ๏ จบเสร็จสำเร็จแก้                          การันต์
                   พึงพิศฉบับบรรพ์                                        แบบเบื้อง
                   ภอเป็นนุสนธิ์สรรพ์                                     สาวสืบ  ไปนา
                   หวังผดุงเด็จเปลื้อง                                      ปลดชั้นเชิงเขลา ๚ะ
                                                                                                            (มูลบพบรรพกิจ, ๒๕๑๔: ๒๗๑)

                   ๛       เรียกว่า โคมูตร ใช้เขียนไว้ตอนสุดท้ายของเรื่องหรือตอนจบ นิยมเขียนไว้ข้างหลัง
          อังคั่นวิสรรชนีย์อีกทีหนึ่งดังนี้ ๚ะ  ๛ พบในเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา เช่น
                             เฉลิมเบื้องบาทบงสุ์บดี                        เฉลิมจักราศี
                   หกรอบนักกษัตรสวัสดิ์เทอญ ๚ะ                      ๛






                   +        เรียกว่า ตีนครุ หรือตีนกา ใช้เป็นเครื่องหมายบอกมาตราเงินโบราณ เช่น
                                 
                            
                  



                             อ่านว่า ๖ ชั่ง ๗ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๓ ไพ
                       
                        หมายเหตุ:           มาตราเงินไทยโบราณ มีอัตราดังนี้
                                                ๔ ไพ                 =          ๑ เฟื้อง
                                                ๒ เฟื้อง              =          ๑ สลึง
                                                ๔ สลึง                =          ๑ บาท
                                                ๔ บาท               =          ๑ ตำลึง
                                                ๒๐ ตำลึง                        =          ๑ ชั่ง     

ปัจจัยที่ช่วยให้เขียนสะกดคำถูกต้อง
          ๑. รู้ความหมายของคำ
                   คำในภาษาไทยมีคำที่ออกเสียงตรงกัน แต่เขียนสะกดต่างกัน จึงทำให้มีคำที่เรียกว่า “คำพ้อง      เสียง” ถ้ารู้ความหมายของคำจะสามารถเขียนสะกดคำได้ถูกต้อง เช่น พัน(ผูก) พันธ์(เกี่ยวข้อง) พันธุ์   (สืบทอด) ภัณฑ์(สิ่งของ) พรรณ(ชนิด, ผิว,สี)  โจทก์(ผู้ฟ้อง, ผู้กล่าวหา) โจทย์(คำถามในวิชาเลข) โจท    (โพนทะนาความผิด) โจษ(ล่าลือ, พูดเซ็งแซ่)
                                               
          ๒. ไม่ใช้แนวเทียบผิด
                   คำบางคำแม้จะเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายหรือรูปศัพท์ ตลอดจนที่มาแตกต่างกัน จะใช้        แนวเทียบเดียวกันไม่ได้ เช่น
                   อานิสงส์          มักเขียนผิดเป็น   อานิสงฆ์                   เพราะไปเทียบกับคำ       พระสงฆ์
                   ผาสุก             มักเขียนผิดเป็น   ผาสุข             เพราะไปเทียบกับคำ       ความสุข
                   แกงบวด          มักเขียนผิดเป็น   แกงบวช          เพราะไปเทียบกับคำ       บวชพระ
                                               
          ๓. ต้องออกเสียงให้ถูกต้อง
                   การออกเสียงไม่ถูกต้องเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เขียนสะกดคำผิด เช่น
                             ผมหยักศก                 ออกเสียงเป็น              ผมหยักศก
                             พรรณนา                   ออกเสียงเป็น              พรรณา
                             บังสุกุล                     ออกเสียงเป็น              บังสกุล
                             ล่ำลา                       ออกเสียงเป็น              ร่ำลา
                             กรวดน้ำ                    ออกเสียงเป็น              ตรวจน้ำ
                             ประณีต                    ออกเสียงเป็น              ปราณีต

          ๔. แก้ไขประสบการณ์ที่ผิดๆ ให้ถูกต้อง
                   การเห็นคำที่เขียนผิดบ่อยๆ จากสื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายโฆษณา ป้ายประกาศ เป็นต้น อาจทำให้เกิด      ประสบการณ์ที่ทำให้เขียนสะกดคำผิดไปด้วย ก่อนเขียนคำจึงควรศึกษาให้ถูกต้องเสียก่อน เช่น
                             ทีฆายุโก                    มักเขียนผิดเป็น            ฑีฆายุโก
                             อนุญาต                    มักเขียนผิดเป็น            อนุญาติ
                             โอกาส                      มักเขียนผิดเป็น            โอกาศ
                             เกร็ดความรู้                มักเขียนผิดเป็น            เกล็ดความรู้
                             เกสร                       มักเขียนผิดเป็น            เกษร

          ๕. ต้องมีความรู้เรื่องหลักภาษา
                   การเขียนสะกดคำได้ถูกต้องนั้น ผู้เขียนต้องมีความจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องหลัก  ภาษาเพื่อ         เป็นแนวทางในการใช้ภาษาที่ถูกต้อง เช่นถ้าผู้เขียนมีความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้ตัวละกด      และตัวตาม       ในภาษาไทย และหลักการของคำสมาส ก็จะช่วยให้เขียนคำได้ถูกต้องเช่น
                                      สํ + ฐาน         =        สัณฐาน
                                      สํ + ถาร                   =        สันถาร
                                      สํ + ชาต         =        สัญชาติ
                   ตัวอย่างข้างต้น เกิดจากหลักการของคำสมาส แบบมีสนธิ ที่เรียกว่า นิคหิตสนธิ นิคหิต สํ +       พยัญชนะในวรรคใด ให้เปลี่ยนนิคหิต (อัง) เป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรค (แถวที่ ๕) เป็นต้น
                                                                         
          ๖. ต้องศึกษาและติดตามเรื่องการเขียนสะกดคำที่เป็นประกาศของราชการ
                   การศึกษาและติดตามเรื่องการเขียนสะกดคำที่เป็นประกาศของราชการ เช่นสำนัก        นายกรัฐมนตรี หนังสือและเอกสารของราชบัณฑิตสถาน เช่น พจนานุกรม สารานุกรม การใช้     เครื่องหมายวรรคตอน การเขียนขื่อเมือง ประเทศ ตลอดจนศัพท์บัญญัติต่างๆ และติดตามการเขียน และการอ่านจากประกาศของทางราชการอย่างสม่ำเสมอ
                   จากทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจะช่วยให้เขียนสะกดคำได้ถูกต้อง

เรียบเรียงจาก
ศึกษาธิการ, กระทรวง. บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๑: ระบบเสียง อักษรไทย การอ่านและการเขียนสะกดคำ;
            กาญจนา นาคสกุลและคณะ. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๕. ๗๗ – ๑๔๐.
         








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น